วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

อัตราส่วน

อัตราส่วน

          นักเรียนอาจพบข้อความแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ข่าวกีฬารายงานว่า "การแข่งขันวอลเลย์บอลของจังหวัดพัทลุง  ทีมเทศบาลชนะทีมจังหวัด  3  ต่อ  2  เซต" ซึ่งข้อความแสดงการเปรียบเทียบจำนวนเซตที่ชนะของทีมเทศบาลและทีมจังหวัด
          ในตลาดนัดอาจได้ยินแม่ค้าร้องขายของว่า "ผักทุกอย่าง  3  กำ  10  บาท" ซึ่งเป็นข้อความแสดงการเปรียบเทียบปริมาณผักกับราคา
          ข้อความข้างต้นเป็นตัวอย่างการใช้อัตราส่วนในชีวิตประจำวันซึ่งเราได้กล่าวถึงต่อไป

sett
          อัตราส่วนของปริมาณ a  ต่อปริมาณ b    เขียนแทนด้วย a : b  หรือ aaaa   เรียก a ว่า จำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน   และเรียก b ว่าจำนวนหลังหรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน a อัตราส่วน b   ต่อจะพิจารณาเฉพาะในกรณีที่  a  ต่อ  b   เป็นจำนวนบวกเท่านั้น
          ตำแหน่งของจำนวนในแต่ละอัตราส่วนมีความสำคัญ  กล่าวคือ ab   อัตราส่วน a : b ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับอัตราส่วน b : a  เช่น  อัตราส่วนของปริมาณผักเป็นกำต่อราคาเป็นบาทเป็น  3 : 10  ไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกันกับ 10 : 3 ทั้งนี้เพราะอัตราส่วน 3 : 10 หมายถึงปริมาณผัก 3 กำราคา 10 บาท ในขณะที่อัตราส่วน 10 : 3 หมายถึง ปริมาณผัก 10 กำ ราคา 3 บาท อัตราส่วน

          ตัวอย่าง แม่ให้รุ้งไปซื้อมะนาวจากตลาดนัดข้างบ้าน รุ้งซื้อ มะนาวมา 4 ผล ราคา 5 บาทจากข้อความดังกล่าว สามารถนำมาเขียนในรูป อัตราส่วน ป็น 4 : 5 นักเรียนคิดว่า ถ้ารุ้งต้องการซื้อมะนาวตามจำนวนที่กำหนดในตาราง  แล้วราคามะนาวจะเป็นอย่างไร

          จำนวนมะนาว (ผล)  4    8    12     16     20
   
          ราคามะนาว  (บาท)  5  ....   .....    ....     .....
         
         ให้นักเรียนเติมราคามะนาวในตารางให้สมบูรณ์
          นักเรียนคิดว่าจะเขียนอัตราส่วนของจำนวนมะนาวเป็นผลต่อราคาเป็นบาทได้อย่างไรบ้าง  ซึ่ง
คำตอบจะเป็นดังนี้ 4 : 5  หรือ 8 : 10 หรือ 12 : 15 หรือ  16 : 20 หรือ 20 : 25 จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนเหล่านี้  ได้มาจากการซื้อมะนาวในราคาเดียวกัน คือ  มะนาว  4  ผล  ราคา 5  บาท  และกล่าวว่าอัตราส่วนเหล่านั้นเป็น  อัตราส่วนที่เท่ากัน  ซึ่งเขียนได้ดังนี้

            m1                           

หรือ    m2                
          เราจะสังเกตเห็นว่า  อัตราส่วนที่เท่ากันข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกันกับอัตราส่วน m3   ดังนี้

      คูณด้วยจำนวนเดียวกัน                 หารด้วยจำนวนเดียวกัน
         
         m4                        m5
       
        m6                         m7

        m8                        m9

         m10                       m11
  

          การทำอัตราส่วนให้เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ข้างต้น  เป็นไปตามหลักการหาอัตราส่วนที่
เท่ากัน  ดังนี้

m12

 
ที่มา : http://www.sopon.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น